
การแบ่งส่วนตลาด ในแบบ Digital marketing
วันนี้มีโอกาสได้ไปอ่านหนังสือเล่มหนึ่งพูดถึงพูดถึงการทำการตลาดออนไลน์ ชื่อหนังสือว่า re:digital มันมีประเด็นที่น่าสนใจทีเดียวเกี่ยวกับเรื่อง การทำการตลาดออนไลน์ สำหรับคนที่เริ่มต้นทำธุรกิจอะไรซักอย่างนะค่ะ หนึ่งในเรื่องนั้นก็คือ การแบ่งส่วนตลาด บน โลกออนไลน์ นั้นเอง มันมีรายละเอียดปลีกย่อย อย่างไรลองไปดูกันค่ะ
ในการขายสินค้านั้นสิ่งสำคัญของการขายคือจะต้องคำหนึ่งว่าจะขายให้กับใคร ใครคือเป้าหมายของผลิตภัณฑ์ ใครที่เข้ามาซื้อสินค้าหรือ บริการของเรา คงเป็นไปไม่ได้ถ้าจะบอกว่า สินค้าที่ผลิตมาขายให้กลับทุกๆคน คนที่พูดว่าสินค้าของเขาขายให้กับ Everyone แสดงว่าเขาผู้นั้นต้องผ่านร้อนผ่านหนาวมาพอสมควร เลยทีเดียว จนคนทั่วไปคงจะรู้จักสินค้า และบริการนั้นเป็นอย่างดี
แต่หากว่าใครที่กำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้น เราควรมาดูหลักการพื้นฐานของเด็ก MBA ที่เรียกว่า STP กันค่ะ STP คือ การแบ่งส่วนตลาด แล้วกำหนดกลุ่มเป้าหมาย จากนั้นก็วางแหล่งผลิตภัณฑ์ลงในตลาดนั้นเอง
- การแบ่งส่วนตลาด(Segmentation)
- กำหนดกลุ่มเป้าหมาย (Targeting)
- วางแหล่งผลิตภัณฑ์ลงในตลาด (Positioning)
ในส่วนนี้เราต้องทำความเข้าใจก่อนเลยว่า มันก็คือเพื่อสร้างความชัดเจนและสร้างเป็นกลยุทธ์ เพื่อเป็นขั้นเป็นตอนในการทำการตลาดนั้นเอง ยกตัวอย่างเช่น การแบ่งลูกค้าตามเพศ อายุ แล้วจากนั้น แล้วจากนั้นก็ซื้อโฆษณาออนไลน์ระบุไปว่า อยากได้แบบไหน ช่วงอายุเท่าไร เช่นช่วง 20-10,30-40และ 40-50ปี ส่วนวางแหล่งผลิตภัณฑ์ลงในตลาด เราก็จะสามารถแสดงออกใน wording ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพหรือวีดีโอต่างๆ ตาม Targeting ที่เราระบุไว้นั้นเอง
STPคือหลักการพื้นๆที่เราจะต้องเข้าใจให้ดีทีเดียว เพราะถ้าเราแบ่งกลุ่มเป็น เลือกกลุ่มได้ และว่างตำแหน่งสินค้าด้วยการสื่อสารออนไลน์อย่างถูกวิธี ช่องทางดิจิตอลคือทางเลือกที่ดีที่สุด และมีประสิทธิภาพที่สุดในยุคนี้ค่ะ
บางคนอาจจะสงสัยว่า แล้วการทำ STP มันดีอย่างไร จะแบ่งกลุ่มคนด้วยอะไร คำตอบแต่ละคนคงไม่เหมือนกัน เพราะแต่ละธุรกิจมีบริบทที่แตกต่างกันไป ส่วนหลักเกณฑ์หลักๆมันมีอยู่ 2 แบบคือ ใช้ลักษณะของผู้บริโภค และการตอบสนองของผู้บริโภค แต่ถ้าลงลึกในลายละเอียด แต่ละธุรกิจก็สามารถแบ่งจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของตนไปเลยด้วยซ้ำ เลยต้องขอยกตัวอย่างวิธีการแบ่งแบบพื้นฐานให้ดูก่อนละกันค่ะ
- Geographic segmentation คือแบ่งแบบภูมิศาสตร์ ตำแหน่งที่ตั้ง อยู่จังหวัดไหน ประเทศไหน จะเจาะลึกหรือกว้างเท่าไรก็อยู่ที่เรากำหนดค่ะ ตัวอย่างเช่น เราขายอุปกรณ์เชียร์บอล เราก็มุ่งเป้ากลหมายไปที่ แฟนบอล แบ่งออกตามท้องถิ่น เช่น บุรีรัมย์ , เมืองทอง ยูไนเต็ด , ชลบุรี เอฟซี ถิ่นใครก็ถิ่นมัน ถ้าแบบนี้เราก็จะเห็นการแบ่งแบบภาพรวมโดยชัดเจน
- Role-based segmentation คือการแบ่งตามบทบาทหน้าที่ เพราะแต่ละคนมีอำนาจ ตำแหน่งการซื้อไม่เท่ากัน บางคนใช้ แต่ไม่ได้ซื้อ บางคนซื้อแต่ไม่ได้ใช้ หรือบางคนไม่ได้ใช้และไม่ได้ซื้อแต่มีส่วนให้ข้อมูล เพื่อการตัดสินใจ ดังนั้นไม่ว่าเราจะพุ่งเป้าหมายการขายให้กับ องค์กร ธุรกิจ หรือครอบครัว เราต้องเข้าใจบทบาทหน้าที่เขาก่อน เพื่อที่เราจะมาสร้างเนื้อหาเพื่อสอดคล้องแต่ละกลุ่มที่แบ่งมา
- Time-based segmentation คือการแบ่งตามช่วงเวลา เช่นสินค้าใดขายได้ตามฤดูไหน นั้นเอง อุปกรณ์สังฆทาน มีฤดูขายดีช่วงวันพระ ซึ่งแต่ละเดือนมี 4 วัน และขายดีมากในช่วงวันพระใหญ่นั้นเอง
- Age-based segmentation คือ แบ่งตามอายุโดยชัดเจนเลยสินค้าหรือบริการบางอย่าง ใช้วิธีการนี้ได้ แต่เดี๋ยวนี้อยากจะบอกว่าสินค้าหรือบริการบางชนิด ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ มันก็ไม่ใช่ประเด็นแล้ว เพราะยุคสมัยนี้ทุกคนสามารถเลือกใช้ของแบบเดียวกันได้ ดังนั้นหากใช้อายุเป็นเกณฑ์ ในการแบ่งก็คงจะไม่เหมาะสม
- Sex-based segmentation คือ การแบ่งตามเพศ เกณฑ์การแบ่งตามเพศก็เป็นอีกอันหนึ่งที่เริ่มใช้ไม่ค่อยได้ สินค้าสำหรับผู้หญิงบางทีผู้ชายก็ใช้ ความเป็น Metrosexual ทำให้อะไรหลายๆอย่างกลายเป็นสีเทามากยิ่งขึ้น
- Interest – based segmentation คือการแบ่งตามความสนใจเช่นกลุ่มคนที่สนใจกีตาร์ สนใจเกมส์ หรือสนใจธุรกิจ คนที่ให้ความสนใจในเรื่องเดียวๆกันก็จะชอบอะไรเหมือนๆกัน และถ้าเข้าถึงกลุ่มคนพวกนี้ด้วย Facebook ads ก็เป็นเรื่องที่ไม่ยากเลย